วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไขปริศนาความหวานมันของ “ช็อกโกแลต” ด้วยแสงซินโครตรอน

" ช็อกโกแลต" ของหวานที่เป็นที่ชื่นชอบของสาวๆ ซึ่งมันมีผลึกกักเก็บความอร่อยด้วยกัน 6 ชนิด โดยผลึกชนิดที่ 5 เป็นชนิดที่น่าหมายปองมากที่สุด

ขณะ เดียวกันช็อกโกแลตก็เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เรื่อยมา จนโลกฮอลีวูดยังต้องหยิบยืมงานวรรณกรรมเยาวชนสุดคลาสสิกไปรังสรรค์โลกแห่ง ช็อกโกแลตให้มีตัวตน ในเรื่อง "ชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต"

ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ได้เผยให้เราเห็นว่า ความอร่อยของช็อกโกแลต เป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้แม้ในอนุภาคระดับจิ๋ว

เมื่อได้พัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมแล้ว ช็อกโกแลตที่มีผลึกแบบที่ 5 อยู่มากก็จะสร้างรายได้และความพึงพอใจให้มากขึ้น

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน ผู้ให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ของแสงซินโครตรอน

ศูนย์ ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ จ.นครราชสีมา กำลังรอผู้ประกอบการไปไขปริศนาประโยชน์จากแสงซินโครตรอนทุกเมื่อ

รู้หรือไม่ว่า “ช็อกโกแลต” มีผลึกของความอร่อยอยู่ 6 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีรสชาติแตกต่างกันด้วย? ฟังแล้ว สาวๆ หลายคนคงเลิกคิ้วสูงด้วยความ “สงสัย” แล้วย้อนถามว่า “จริงหรือ” และรู้ได้อย่างไรว่า ขนมหวานประจำตัวสาวๆ อย่างช็อกโกแลตผิวเนียนๆ เนื้อนุ่มลิ้นนี้จะมีลักษณะดังกล่าวจริง!!?

ต่อคำถามนี้ ก็ตอบได้ว่า เป็นเรื่องที่เราสามารถตรวจรู้ได้แล้ว และไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังเทคโนโลยีจะหาคำตอบได้ ซึ่งไทยเองก็เป็นหนึ่งใน 50 ประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ว่านั้นไว้ใช้งานแล้ว เทคโนโลยีนี้คือ “เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน”

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ จ.นครราชสีมา เล่าถึงประโยชน์ของแสงซินโครตรอนต่อการผลิต “ช็อกโกแลต” ว่า ช็อกโกแลตเป็นของหวานชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของโกโก้เป็นหลัก โดยก่อนที่ช็อกโกแลตแท่งงามจะออกมาสู่มือผู้บริโภคได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการทางความร้อนจนมีลักษณะเป็นช็อกโกแลตเหลวมาก่อน

ทั้งนี้ เมื่อปล่อยให้ช็อกโกแลตเหลวเย็นตัวลง ก็จะทำให้เกิดผลึกช็อกโกแลตขนาดจิ๋วนับไม่ถ้วนเรียงตัวกันเป็นแผ่นเป็นก้อน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ทว่า เมื่อนำแสงที่ได้จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นแสงที่มีคุณสมบัติคล้ายแว่นขยายกำลังสูง จนส่องเห็นโครงสร้างขนาดเล็กมากๆ ระดับนาโนเมตรของสิ่งต่างๆ ได้ ไปส่องเนื้อช็อกโกแลตดูแล้ว ก็จะทำให้เห็นว่าผลึกของช็อกโกแลตนั้นๆ แบ่งได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน และเมื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมก็ทำให้ทราบด้วยว่า ผลึกแต่ละชนิดจะมีรสชาติแตกต่างกันไปด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับงานวิจัยในอังกฤษเมื่อราว 2 ปีที่แล้วชิ้นนี้ รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า ผลึกช็อกโกแลตชนิดที่ 1-4 นั้น ถือเป็นผลึกช็อกโกแลตที่ให้รสชาติเหมือนช็อกโกแลตธรรมดาทั่วๆ ไป ไม่มีรสชาติโดดเด่นและไม่มีข้อเสียใดๆ มากนัก แต่หัวใจสำคัญของรสชาติหวานมันอร่อยของช็อกโกแลตนั้นกลับอยู่ที่ผลึกอีก 2 ชนิดที่เหลือ

เพราะ สำหรับผลึกช็อกโกแลตชนิดที่ 5 แล้ว เปรียบได้กับพระเอกของช็อกโกแลตทีเดียว เพราะเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสชาติอร่อยมากที่สุด คือ มีทั้งรสหวานและความมันอยู่ในตัว ขณะที่ผลึกช็อกโกแลตตัวร้ายที่ทำให้ได้ช็อกโกแลตที่มีรสชาติขมมากจนไม่ชวน รับประทาน ก็คือผลึกชนิดที่ 6 นั่นเอง

จากความรู้ที่ได้นี้ ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน บอกว่า ผู้ผลิตช็อกโกแลตจึงสามารถนำไปใช้พัฒนากระบวนการผลิตช็อกโกแลตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดย ทำให้เกิดผลึกช็อกโกแลตแบบที่ 5 ให้มีมากที่สุด ในทางกลับกันก็พยายามลดผลึกช็อกโกแลตแบบที่ 6 ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะทำให้ได้ช็อกโกแลตที่พึงปรารถนาของผู้บริโภคมากที่สุด

ด้านผู้ผลิตเองก็สามารถขายช็อกโกแลตได้ในราคาสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐพยายามสนับสนุนอยู่ โดยเฉพาะ "แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา" โดยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ประกาศใช้งานแล้ว

อย่างไรก็ดี ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน ยังบอกด้วยว่า ไม่เพียงแต่การผลิตช็อกโกแลตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถใช้เทคโนโลยี แสงซินโครตรอนมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ แต่ประโยชน์ของแสงซินโครตรอนกลับมีมากมายและแทบจะครอบคลุมในทุกด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ สิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง การผลิตยา รวมไปถึงการแต่งสีพลอยให้มีสีสวยตามต้องการ

ขณะเดียวกัน แสงซินโครตรอนยังเป็นแสงที่มีความคมมาก จึงสามารถใช้เพื่อตัดแต่งชิ้นส่วนวัสดุขนาดเล็กๆ ได้อย่างประณีตและแม่นยำ ปัจจุบันจึงมีการนำแสงซินโครตรอนไปใช้ในการผลิตแม่พิมพ์ชิ้นส่วนไมโครชิ พขนาดเล็กในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อีกทั้งการจัดทำฟันเฟืองและชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดจิ๋วได้อย่างไร้ปัญหา

สำหรับผู้สนใจเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนก็สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนได้ที่เว็บไซต์ www.nsrc.or.th ได้ทันที หรือผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมรายใดสนใจขอรับบริการแสงซินโครตรอนเพื่อ พัฒนากระบวนการผลิตแล้ว ก็สามารถสอบถามและสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ของศูนย์ เพื่อรับบริการและสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ส่วนงานบริการผู้ใช้ โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 605, 606 หรืออีเมล usersoffice@nsrc.or.th

นอกจากนั้น ในวันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ศูนย์ซินโครตรอนยังจะได้จัดงานประชุมประจำปีกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปที่ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันด้วย ผู้ต้องการเข้าร่วมงานควรติดต่อทางศูนย์เพื่อสำรองที่นั่งก่อนการประชุม

เมื่อ เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้แล้ว ก็จะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองว่า แท้ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของแสงซินโครตรอนไม่ได้มีเพียงแค่การผลิตช็อกโกแลตให้อร่อยเท่า นั้น!!?

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


online-flash-games
online-star-wars-games
pogo-free-games
beer-drinking-games
bowling-games
free-arcade-fighting-games
free-shooting-games
how-to-play-dos-games-under-windows-xp
adventure-point-click-games
fashion-dress-up-games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น