วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไขปริศนาความหวานมันของ “ช็อกโกแลต” ด้วยแสงซินโครตรอน

" ช็อกโกแลต" ของหวานที่เป็นที่ชื่นชอบของสาวๆ ซึ่งมันมีผลึกกักเก็บความอร่อยด้วยกัน 6 ชนิด โดยผลึกชนิดที่ 5 เป็นชนิดที่น่าหมายปองมากที่สุด

ขณะ เดียวกันช็อกโกแลตก็เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เรื่อยมา จนโลกฮอลีวูดยังต้องหยิบยืมงานวรรณกรรมเยาวชนสุดคลาสสิกไปรังสรรค์โลกแห่ง ช็อกโกแลตให้มีตัวตน ในเรื่อง "ชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต"

ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ได้เผยให้เราเห็นว่า ความอร่อยของช็อกโกแลต เป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้แม้ในอนุภาคระดับจิ๋ว

เมื่อได้พัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมแล้ว ช็อกโกแลตที่มีผลึกแบบที่ 5 อยู่มากก็จะสร้างรายได้และความพึงพอใจให้มากขึ้น

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน ผู้ให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ของแสงซินโครตรอน

ศูนย์ ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ จ.นครราชสีมา กำลังรอผู้ประกอบการไปไขปริศนาประโยชน์จากแสงซินโครตรอนทุกเมื่อ

รู้หรือไม่ว่า “ช็อกโกแลต” มีผลึกของความอร่อยอยู่ 6 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีรสชาติแตกต่างกันด้วย? ฟังแล้ว สาวๆ หลายคนคงเลิกคิ้วสูงด้วยความ “สงสัย” แล้วย้อนถามว่า “จริงหรือ” และรู้ได้อย่างไรว่า ขนมหวานประจำตัวสาวๆ อย่างช็อกโกแลตผิวเนียนๆ เนื้อนุ่มลิ้นนี้จะมีลักษณะดังกล่าวจริง!!?

ต่อคำถามนี้ ก็ตอบได้ว่า เป็นเรื่องที่เราสามารถตรวจรู้ได้แล้ว และไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังเทคโนโลยีจะหาคำตอบได้ ซึ่งไทยเองก็เป็นหนึ่งใน 50 ประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ว่านั้นไว้ใช้งานแล้ว เทคโนโลยีนี้คือ “เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน”

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ จ.นครราชสีมา เล่าถึงประโยชน์ของแสงซินโครตรอนต่อการผลิต “ช็อกโกแลต” ว่า ช็อกโกแลตเป็นของหวานชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของโกโก้เป็นหลัก โดยก่อนที่ช็อกโกแลตแท่งงามจะออกมาสู่มือผู้บริโภคได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการทางความร้อนจนมีลักษณะเป็นช็อกโกแลตเหลวมาก่อน

ทั้งนี้ เมื่อปล่อยให้ช็อกโกแลตเหลวเย็นตัวลง ก็จะทำให้เกิดผลึกช็อกโกแลตขนาดจิ๋วนับไม่ถ้วนเรียงตัวกันเป็นแผ่นเป็นก้อน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ทว่า เมื่อนำแสงที่ได้จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นแสงที่มีคุณสมบัติคล้ายแว่นขยายกำลังสูง จนส่องเห็นโครงสร้างขนาดเล็กมากๆ ระดับนาโนเมตรของสิ่งต่างๆ ได้ ไปส่องเนื้อช็อกโกแลตดูแล้ว ก็จะทำให้เห็นว่าผลึกของช็อกโกแลตนั้นๆ แบ่งได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน และเมื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมก็ทำให้ทราบด้วยว่า ผลึกแต่ละชนิดจะมีรสชาติแตกต่างกันไปด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับงานวิจัยในอังกฤษเมื่อราว 2 ปีที่แล้วชิ้นนี้ รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า ผลึกช็อกโกแลตชนิดที่ 1-4 นั้น ถือเป็นผลึกช็อกโกแลตที่ให้รสชาติเหมือนช็อกโกแลตธรรมดาทั่วๆ ไป ไม่มีรสชาติโดดเด่นและไม่มีข้อเสียใดๆ มากนัก แต่หัวใจสำคัญของรสชาติหวานมันอร่อยของช็อกโกแลตนั้นกลับอยู่ที่ผลึกอีก 2 ชนิดที่เหลือ

เพราะ สำหรับผลึกช็อกโกแลตชนิดที่ 5 แล้ว เปรียบได้กับพระเอกของช็อกโกแลตทีเดียว เพราะเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสชาติอร่อยมากที่สุด คือ มีทั้งรสหวานและความมันอยู่ในตัว ขณะที่ผลึกช็อกโกแลตตัวร้ายที่ทำให้ได้ช็อกโกแลตที่มีรสชาติขมมากจนไม่ชวน รับประทาน ก็คือผลึกชนิดที่ 6 นั่นเอง

จากความรู้ที่ได้นี้ ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน บอกว่า ผู้ผลิตช็อกโกแลตจึงสามารถนำไปใช้พัฒนากระบวนการผลิตช็อกโกแลตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดย ทำให้เกิดผลึกช็อกโกแลตแบบที่ 5 ให้มีมากที่สุด ในทางกลับกันก็พยายามลดผลึกช็อกโกแลตแบบที่ 6 ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะทำให้ได้ช็อกโกแลตที่พึงปรารถนาของผู้บริโภคมากที่สุด

ด้านผู้ผลิตเองก็สามารถขายช็อกโกแลตได้ในราคาสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐพยายามสนับสนุนอยู่ โดยเฉพาะ "แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา" โดยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ประกาศใช้งานแล้ว

อย่างไรก็ดี ผอ.ศูนย์ซินโครตรอน ยังบอกด้วยว่า ไม่เพียงแต่การผลิตช็อกโกแลตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถใช้เทคโนโลยี แสงซินโครตรอนมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ แต่ประโยชน์ของแสงซินโครตรอนกลับมีมากมายและแทบจะครอบคลุมในทุกด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ สิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง การผลิตยา รวมไปถึงการแต่งสีพลอยให้มีสีสวยตามต้องการ

ขณะเดียวกัน แสงซินโครตรอนยังเป็นแสงที่มีความคมมาก จึงสามารถใช้เพื่อตัดแต่งชิ้นส่วนวัสดุขนาดเล็กๆ ได้อย่างประณีตและแม่นยำ ปัจจุบันจึงมีการนำแสงซินโครตรอนไปใช้ในการผลิตแม่พิมพ์ชิ้นส่วนไมโครชิ พขนาดเล็กในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อีกทั้งการจัดทำฟันเฟืองและชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดจิ๋วได้อย่างไร้ปัญหา

สำหรับผู้สนใจเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนก็สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนได้ที่เว็บไซต์ www.nsrc.or.th ได้ทันที หรือผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมรายใดสนใจขอรับบริการแสงซินโครตรอนเพื่อ พัฒนากระบวนการผลิตแล้ว ก็สามารถสอบถามและสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ของศูนย์ เพื่อรับบริการและสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ส่วนงานบริการผู้ใช้ โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 605, 606 หรืออีเมล usersoffice@nsrc.or.th

นอกจากนั้น ในวันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ศูนย์ซินโครตรอนยังจะได้จัดงานประชุมประจำปีกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปที่ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันด้วย ผู้ต้องการเข้าร่วมงานควรติดต่อทางศูนย์เพื่อสำรองที่นั่งก่อนการประชุม

เมื่อ เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้แล้ว ก็จะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองว่า แท้ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของแสงซินโครตรอนไม่ได้มีเพียงแค่การผลิตช็อกโกแลตให้อร่อยเท่า นั้น!!?

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


online-flash-games
online-star-wars-games
pogo-free-games
beer-drinking-games
bowling-games
free-arcade-fighting-games
free-shooting-games
how-to-play-dos-games-under-windows-xp
adventure-point-click-games
fashion-dress-up-games

เกร็ดน้อยๆ นิดๆ กับ “วิทยาศาสตร์” ใน "สี"

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
"สี" ปัจจัยที่มีผลต่อความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของมนุษย์ โดยเกี่ยวพันกับคนเรามาแต่โบราณกาล(ภาพจาก www.elpacocoatings.com)

ศ.ดร.ศักดา ศิริพันธุ์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

หลับตานึกถึง "กล่องดินสอสี" ขึ้นมาทีไร หลายคนคงคิดถึงแท่งสีวางเรียงอยู่ในกล่องได้แบบไม่ต้องใช้เวลานาน แต่กว่าเราจะได้สีแต่ละแท่งมาได้นั้น มีต้นกำเนิดมาอย่างไร และเกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์แค่ไหน น้อยคนนักที่จะรู้ ศ.ดร.ศักดา ศิริพันธุ์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ จะช่วยหาคำตอบ !!

ศ.ดร.ศักดา เล่าระหว่างบรรยายในหัวข้อ "วัฒนธรรมเกี่ยวกับสี" ว่า สีเป็นสิ่งที่คนเราคุ้นเคยมานานแล้ว เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อคนเราทุกคนและในทุกวิชาชีพมาทุกยุคทุกสมัย ทั้งแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ตลอดจนชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ที่ต้องใช้สีเพื่อการสื่อสารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ศ.ดร.ศักดา เล่าว่า ก่อนที่เราจะมีเฉดสีต่างๆ ให้เลือกสรรกันใช้แบบไม่อั้นในปัจจุบัน สามารถย้อนไปไกลถึง 15,000 ปีที่แล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยภาพเขียนสีแรกๆ พบอยู่ในถ้ำลาสโคช์ (Lascaux) ประเทศฝรั่งเศส โดยสีที่คนเรารู้จักนำมาใช้มี 2 ชนิด คือ “เม็ดสี” (pigment) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ เช่น หินสีในบริเวณใกล้กับเทือกเขาแอลป์ และอีกชนิดที่ได้จากสารอินทรีย์คือ “สีย้อม” โดยมีการใช้งานมานานกว่า 6,000 ปี อียิปต์เป็นชาติเก่าแก่ที่รู้จักการใช้สีเพื่อจารึกและบอกเล่าประวัติศาสตร์มากว่า 3 สหัสวรรษ

ส่วนนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่สังเกตและศึกษาปรากฏการณ์ของสี คือ อริสโตเติล ซึ่งเป็นทั้งนักปราชญ์คนสำคัญที่มีอายุเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล โดยเขาค้นพบว่าสีเกิดจากการดูดกลืนและสะท้อนของแสงตามหลักวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะมีผู้สนใจอื่นๆ ร่วมศึกษาเรื่องสีด้วย เช่น ลีโอนาร์โด ดาวินซี ศิลปินชื่อก้อง ผู้บัญญัติศัพท์ “ความสว่าง” (Bright) และ “ความต่างสี” (Contrast) ไว้คู่กับวงการศิลปกรรมเมื่อราวศตวรรษที่ 15

จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ระดับตำนานอย่างเซอร์ไอแซค นิวตัน ก็ค้นพบว่า เมื่อแสงสีขาวเดินทางผ่านแท่งปริซึมจะแยกได้เป็นแสงสีรุ้ง 7 สี พร้อมให้ความเห็นว่า สีเป็นเรื่องราวของความรู้สึก และแสงประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ มากมาย โดยผู้ให้กำเนิดวงล้อสีที่รู้จักกันดี คือ โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่ นักปรัชญาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแม่สีอันประกอบด้วยสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน

ต่อมา โทมัส ยัง นักวิจัยอีกรายก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์แทรกสอดของสีขึ้น ดังที่เราจะเห็นได้เมื่อผิวฟองสบู่หักเหกับแสง อีกทั้งเขาร่วมกับเพื่อนยังค้นพบหลักการเห็นสีของตา ซึ่งในเวลาต่อมามีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งศึกษาต่อเพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้จนพบ ว่าเป็นความจริง และได้รับรางวัลโนเบลในเวลาไม่นาน

ขณะที่ในฟากการแพทย์ที่เกี่ยวกับสีก็มีเช่นกัน เมื่อแพทย์ชาวญี่ปุ่นได้ประดิษฐ์แผ่นภาพทดสอบตาบอดสีขึ้นเพื่อตรวจภาวะบอดสี จากนั้นเมื่อขึ้นศตวรรษที่ 19 วงการอุตสาหกรรมก็ผลิตสีสังเคราะห์ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยใช้กระบวนการทางเคมีกับสารอินทรีย์จากพืช จนได้เฉดสีต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกขณะ จนบัญญัติเป็นชื่อสีที่มีความเฉพาะตัวได้นับหมื่นๆ เฉดสีในปัจจุบัน และเกิดระบบสีขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา คือระบบมันเชลล์เมื่อราว 100 ปีก่อน

อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทยเอง สีก็มีความสำคัญทีเดียว โดยเฉพาะกับงานจิตรกรรม ซึ่งเกี่ยวพันกับภูมิปัญญา และวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย โดยได้มีการจัดทำระบบสีไทยไว้แล้ว

ศ.ดร.ศักดา เล่าว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2524 เมื่อครั้งงานบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ช่างศิลป์ไทยระบายแถบสีต่างๆ ทีมีชื่อไทย เช่น นวลจันทร์ เมฆคราม เขียวขาบ ดอกตะแบก แดงชาด ฯลฯ และถ่ายภาพแถบสีนั้นไว้แล้วตีพิมพ์เผยแพร่เพื่ออนุรักษ์ลักษณะสีที่มีชื่อ ไทยไว้ ไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา

พระราชประสงค์ดังกล่าว ศ.ดร.ศักดา กล่าวว่า การรวบรวมครั้งนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นการจัดมาตรฐานสีที่มีชื่อไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ เพราะที่ผ่านมา ช่างศิลป์ไทยแต่ละคนมักจดจำลักษณะสีแต่ละสีไว้ในใจตัวเอง โดยไม่มีการจดบันทึก แต่เมื่อนำสีของแต่ละคนมาเปรียบเทียบกันแล้ว กลับได้สีที่มีลักษณะแตกต่างกันออกมา

อย่างไรก็ดี จากการจัดระบบสีครั้งนั้น ศ.ดร.ศักดา เล่าว่า ยังได้มีการนำสีของไทยที่ได้ 50 เฉดสีในครั้งนั้นไปเทียบกับระบบสีมันเชลล์ในปี พ.ศ.2535 ด้วย โดยหวังว่าลักษณะสีของไทยจะเป็นที่รู้จักของนานาชาติมากขึ้น และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นในวงการอัญมณี ที่สีของอัญมณีมีผลต่อคุณภาพและราคาของอัญมณีมาก โดยเฉพาะอัญมณีไทยที่มีเฉดสีแบบดีพเรด (deep red) ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในตลาดยุโรป

สำหรับการสัมมนาวิชาการ “วัฒนธรรมเกี่ยวกับสี” จัดขึ้นโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยศรีนครินมทรวิโรฒ ประสานมิตร (มศว) ระหว่างวันที่ 1- 2 มิ.ย. ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เพื่อต้องการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับสีที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมไทยในหลาก หลายแง่มุม ก่อนกำหนดแผนวิจัยเกี่ยวกับสีตามลำดับ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่นำไปใช้ในแวดวงธุรกิจและอุตสากรรมต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


car-racing-games
halloween-games-for-kids
play-steam-games-without-installing-steam
web-games
fun-online-games
games-to-download
the-guy-game
cheap-wii-games
free-online-trivia-games
jurassic-park-online-games

ญี่ปุ่น-จีน-อินเดียแข่งสำรวจดวงจันทร์

ประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ร่วมลงสนามแข่งสำรวจแหล่งทรัพยากรบนดวงจันทร์ และใช้ดวงจันทร์เป็นฐานข้อมูลเพื่อสำรวจดาวเคราะห์อื่นๆ ต่อไป ท่ามกลางกระแสคึกโครมของกิจกรรมทางอวกาศทั่วโลกที่มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง

การส่งยานสำรวจดวงจันทร์ และดาวอังคาร รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อยู่ในวาระสำคัญอันดับต้นๆ ของการประชุมเป็นเวลา 5 วัน ในนครไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านอวกาศจากทั่วโลกกว่า 2,000 คน ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักบินอวกาศมาเข้าร่วม

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้ปักธงเริ่มการแข่งขันสำรวจดวงจันทร์ระหว่างชาติเอเชียเมื่อ 14 กันยายนที่ผ่านมา หลังประสบความสำเร็จในการส่งยานโคจรรอบดวงจันทร์ โดยองค์กรสำรวจการบินอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) แจ้งว่ายังจะส่งหุ่นยนต์ไปปฏิบัติการบนอวกาศได้สำเร็จอีกหลายเที่ยว ก่อนที่จะส่งยานไปลงจอด และส่งมนุษย์อวกาศลงบนดวงจันทร์

ขณะที่ องค์การอวกาศแห่งชาติของจีน (China National Space Administration) ชี้ว่า จีนก็วางแผนปล่อยยานสำรวจฉางเอ๋อ 1 (Chang'e 1) ซึ่งถูกส่งไปที่ฐานปล่อยยานเรียบร้อยแล้ว และหากทุกอย่างพร้อมก็จะสามารถปล่อยยานได้ก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งยังเสริมว่าจีนจะพิจารณาส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดาวบริวารของโลกดวงนี้ใน อนาคตด้วย

ส่วน อินเดียนั้นจะส่งจันทรายาน 1 (Chandrayaan 1) ตามไปสมทบทีหลังภายในเดือนมีนาคม หรือเมษายนในปี 2008 โดยมีการเตรียมพร้อมทั้งการปล่อยยาน และการติดตั้งเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณข้อมูลจากดวงจันทร์ ที่สถานีอวกาศศรีหริโคตะ ทางใต้ของอินเดียแล้ว ตามคำบอกเล่าของผู้อำนวยการศูนย์อวกาศวิกราม ศราภัย (Vikram Sarabhai Space Centre)

นอกจากนี้ ในปีหน้า อินเดียน่าจะสามารถกำหนดปีเป้าหมายสำหรับการเดินทางในอวกาศของมนุษย์ขึ้นสู่ ดวงจันทร์ ซึ่งหัวหน้าองค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย (Indian Space Research Organisation) เผยว่า อาจยังต้องใช้เวลาอีก 7-8 ปี

แม้ว่ามนุษย์จะมีการส่งยานขึ้นไปสำรวจบนดวงจันทร์มาเป็นเวลานานกว่า 4 ทศวรรษแล้วก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบสุดท้ายให้กับคำถามเกี่ยวกับกำเนิด ของดวงจันทร์ แร่ธาตุ หรือน้ำที่มีอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนั้นว่าจะมาสามาถรองรับการใช้ชีวิตของ มนุษย์ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชแห่งสหรัฐฯ เคยประกาศในปี 2004 เกี่ยวกับแผนการของสหรัฐฯ ที่จะกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2020 และใช้ดาวบริวารของโลกดวงนี้เป็นหลักที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร หรือดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ อีก โดยนาซามีเป้าหมายจะส่งมนุษย์ไปสำรวจดาว

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

games-for-18th-birthday-party
kids-math-games
halloween-online-games
the-impossible-quiz-game
download-free-fighting-games
free-car-games
make-your-own-board-games
free-fighting-games-on-the-web
fun-printable-games
free-games-download

สารพัดปัญหา "นาซา" อาจกลับไปดวงจันทร์ล่าช้า

ภาพจำลองจรวดรุ่น ใหม่ของนาซาที่จะส่งไปสำรวจดวงจันทร์ โดยเอเรส 1 (Ares 1) ทางซ้ายเป็นยานที่จะลำเลียงนักบินอวกาศ ส่วนจรวดเอเรสไฟว์ฟ (Ares V) เป็นจรวดสำหรับลำเลียงสัมภาระและยานสำหรับลงจอดดวงจันทร์ โดยจรวดเหล่านี้พัฒนาขึ้นที่ศูนย์อวกาศมาร์แชล (Marshall Space Flight Center) -ภาพจากศูนย์อวกาศมาร์แชล/นาซา/เอพี
"นาซา" เผชิญสารพัดปัญหาทั้งเรื่องงบประมาณ ปัญหาเชิงเทคนิค ที่ยิ่งสร้างยิ่งพบข้อผิดพลาด รวมถึงอาจให้นักบินอวกาศที่จะโดยสารไปกับยาน ลดการบริโภคน้ำลงกว่าเดิม เพื่อคลายปัญหาเทคนิค ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบให้การกลับไปสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกล่าช้า

ผู้บริหารระดับสูงขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า ปัญหาทางการเงินอาจฉุดรั้งเป้าหมายในการสร้างยานลำใหม่ เพื่อกลับไปสำรวจดวงจันทร์ก่อนปี 2556 นี้ และกล่าวด้วยว่านาซา อาจจะส่งนักบินอวกาศไปพร้อมกับยานอวกาศโอไรออน (Orion) ลำแรกในเดือน มี.ค.2558 นี้ นอกเสียจากว่าจะเกิดปัญหาการชะงักงันด้านงบประมาณ

อย่างไรก็ดีดัก คุค (Doug Cooke) รองผู้บริหารการสำรวจของนาซา กล่าวแก่เอพีว่า แผนในการส่งนักบินอวกาศเป็นครั้งแรกในปี 2558 นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แต่เป้าหมายที่จะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ในปี 2563 ยังคง โดยการส่งยานโอไรออนเป็นครั้งแรกนั้นก็เพียงการส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกก่อนที่ จะมุ่งไปยังดวงจันทร์ซึ่งมีเส้นทางที่ซับซ้อนกว่า

พร้อมกันนี้คุค ยังยอมรับด้วยว่ารายงานภายในเกี่ยวกับการเลื่อนกำหนดส่งยานนี้ รั่วไหลมาจากเว็บไซต์นาซาวอตช์ (Nasa Watch) โดย เอกสารจากเว็บไซต์แสดงแผนการกลับไปดวงจันทร์ทั้งหมดของนาซา ซึ่งรวมถึงปัญหาทางด้านการเงินและเทคนิคที่นาชาระบุว่าอาจล้มกระดานแผนการ กลับไปดวงจันทร์ได้

เอพีระบุว่า เอกสาร หนา 117 หน้าซึ่งโพสต์ผ่านเว็บไซต์นาซาวอตช์นั้นแสดงถึงงบประมาณที่เกินไปถึงกว่า 2,400 ล้านบาท สำหรับค่ามอเตอร์เพียงตัวเดียว และยังมีปัญหาอีกเป็นตั้งที่นาซาจัดไว้อยู่ในหมวดความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง อีกทั้งในรายงานยังจัดพฤติการณ์ทางการเงินของโครงการไว้ในหมวดนี้ด้วย

ส่วนปัญหาในเชิงเทคนิคนั้นได้ร่วมเรื่องซอฟต์แวร์ที่อาจพัฒนาไม่ทัน เวลา ปัญหาเรื่องฉนวนกันความร้อน ปัญหาเรื่องการสั่นระหว่างลงจอด และประตูของยานที่เปิดได้ยาก

ในรายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า นาซามีแผนที่จะลดปริมาณน้ำดื่มประจำของนักบินอวกาศเพื่อลดน้ำหนักของยาน โดยเหลือเพียง 2 ลิตรจากที่ควรจะเป็น 2.5 ลิตรตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

เอพีระบุอีกว่า ในรายงานนั้นแสดงให้เห็นว่าปัญหาในการดำเนินงานสร้างยานโอไรออนนั้นเพิ่ม ขึ้นเกือบ 2 เท่าจากเดือน พ.ค.-ก.ค. และมีปัญหา 24 เรื่องที่จัดอยู่ในรายการอันน่าวิตก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกกล่าวว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะวิตกแต่ก็ให้คำ เตือนบางอย่างกลับมา

จอห์น ลอกสดอน (John Logsdon) ผู้อำนวยการเชิงนโยบายอวกาศจากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) สหรัฐฯ กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวของนาซาไม่ใช่เรื่องประหลาดใจสำหรับเขาแต่อย่างใด และกล่าวด้วยว่านาซามีความพยายามที่จะกลับไปดวงจันทร์ด้วยงบประมาณที่ไม่พอ เพียงและไม่มั่นคง

ทางด้านดับเบิลยู เฮนรี แลมไบร์ท (W. Henry Lambright) ศาสตราจารย์ทางด้านนโยบายเทคโนโลยีและนโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) สหรัฐฯ กล่าวว่าสิ่ง ที่เป็นปัญหาคือระบบการเมืองที่งบประมาณจะต้องผ่านการอนุมัติจาก ประธานาธิบดีแล้วนาซาจึงจะเดินหน้าแผนการเงินของตัวเองได้ ทั้งนี้งบประมาณสำหรับปีหน้าก็ยังคงไม่ผ่านการอนุมัติ

"เรามีเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งทำงานผิดปกติ ผมไม่ได้กล่าวโทษนาซานะ แต่ผมคิดว่านาซาคือเหยื่อของสถานการณ์ทางการเมืองที่เรามีอยู่ในประเทศ" แลมไบร์ทกล่าว

หากแต่คีธ โควิง (Keith Cowing) อดีตวิศวกรจากนาซาวอตช์ มองอีกมุมหนึ่งว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคือการออกแบบและการวางแผนที่ไม่ได้ ซึ่งซ้ำรอยกับกรณีของอะพอลโล (Apollo) และนาซาก็ไม่ได้เรียนรู้จากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกรณีเพลิงไหม้ยานอะพอ ลโล 1

ทั้งนี้กลุ่มวิศวกรของนาซาได้ทำงานตามเวลาของตัวเอง และที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ก็นำเสนอจรวดทางเลือกอื่นที่จะส่งไปยังดวงจันทร์โดยมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมี ความพร้อมที่เร็วกว่าแต่นาซาก็ได้ปฏิเสธข้อเสนอ.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

free-psp-game-downloads
free-childrens-games
multiplayer-games
all-ben10-games
best-wii-games
play-game-online
online-racing-games
play-spongebob-games
ps3-game-cheats
free-online-dress-up-games

ยาน LRO ถึงที่หมายมุ่งสร้างแผนที่ให้นาซาใช้ ยามกลับไปเหยียบดวงจันทร์

ภาพแรกของดวงจันทร์ที่ ได้จากยาน LRO/LCROSS ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซาที่เดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 52 และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 52 และมีกำหนดจะลงจอดบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ในเดือน ต.ค. นี้ (เอเอฟพี/นาซา)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
การส่งยาน LRO/LCROSS ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2552 (เอเอฟพี)

ภาพจำลองยาน LRO/LCROSS ขณะลอยเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ (นาซา)

นาซาบรรลุเป้าหมาย ส่งยานไปถึงดวงจันทร์สำเร็จ เร่งสำรวจพื้นผิวดาวบริวารของโลกด้วยกล้องความละเอียดสูง หวังเก็บข้อมูลในมุมที่ไม่เคยเห็น พร้อมสร้างแผนที่ดวงจันทร์ เพื่อการวางแผนส่งมนุษย์อวกาศกลับไปอีกครั้งในอีก 10 ปีข้างหน้าหน้า ส่วนปลายปีนี้เตรียมนำยานลงจอดในหลุมขั้วโลกใต้ ขุดหาร่องรอยของน้ำ

ลูนาร์ รีคอนเนสซองซ์ ออร์บิเตอร์ หรือ แอลอาร์โอ (The Lunar Reconnaissance Orbiter: LRO) ยานสำรวจดวงจันทร์ลำล่าสุดขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เดินทางถึงที่หมายและเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์เรียบร้อยแล้วเมื่อเวลา 17.27 น. ของวันที่ 23 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา ตามเวลาในประเทศไทย พร้อมเดินหน้าสำรวจภูมิประเทศบนดวงจันทร์ เตรียมทำแผนที่ให้มนุษย์อวกาศมาสำรวจต่อในปี 2563

"ทันทีที่ยานเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ เราก็สามารถเริ่มรวบรวมข้อมูลรายละเอียดภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ที่จะทำให้ เราเข้าใจรายละเอียดภูมิประเทศบนดวงจันทร์ได้มากยิ่งขึ้น" แคธี เพดดี (Cathy Peddie) รักษาการผู้จัดการโครงการยานแอลอาร์โอ กล่าว โดยมีศูนย์ประสานงานโครงการอยู่ที่ศูนย์อวกาศกอดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) มลรัฐแมรีแลนด์

ข้อมูลจากนาซาระบุว่ายานแอลอาร์โอจะพุ่งเป้าการสำรวจไปที่หลุมที่ลึกที่สุดบนดวงจันทร์ รวมทั้งบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงและบริเวณที่อยู่ในเงามืดตลอดเวลา เพื่อทำความเข้าใจกับผลของรังสีสะท้อนจากดวงจันทร์ต่อมนุษย์บนโลก โดย อาศัยภาพถ่ายภูมิประเทศบนดวงจันทร์ในแบบ 3 มิติ ที่มีความละเอียดสูง และสามารถสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ใด้ภายใต้สเปกตรัมที่ความยาวคลื่นต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ก็จะสำรวจและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในบริเวณที่ภารกิจก่อนหน้าได้เคยสำรวจไป บ้างแล้ว ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ของยานแอลอาร์โอทั้ง 7 ชิ้น จะเริ่มเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดำเนินการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์อย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. เป็นต้นไป หลังจากที่ยานแอลอาร์โอเข้าสู่วงโคจรชั้นในของดวงจันทร์แล้ว

ทั้งนี้ นาซาส่งยานแอลอาร์โอพร้อมด้วยโพรบแอลซีอาร์โอเอสเอส (Lunar Crater Observation and Sensing Satellite: LCROSS) จากศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ด้วยจรวดแอตสาส วี (Atlas V rocket) โดยโพรบ LCROSS นั้นจะยึดติดอยู่กับยานแอลอาร์โอไปจนถึงเดือน ต.ค. ก่อนที่จะแยกออกไปสำรวจดวงจันทร์ในขั้นที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นต่อไป

นาซาจะให้โพรบดังกล่าวลงจอดในหลุมบนดวงจันทร์ที่อยู่ใกล้กับบริเวณส่วนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์
เพื่อขุดเอาวัตถุบริเวณดังกล่าวมาวิเคราะห์หาร่องรอยของน้ำแข็งต่อไป และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดวงจันทร์โดยยานแอลอาร์โอครั้งนี้ นาซาจะนำไปใช้วางแผนสำหรับการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้งที่ตั้งเป้า ไว้ในปี 2563

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทั้งจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ได้ทยอยส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์กันอย่างแข็งขัน และเมื่อเดือน มี.ค. ยานฉางเอ๋อ 1 (Chang'e 1) ของจีนได้ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ ตามด้วยยานคางูยะ (Kaguya) ของญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-drag-racing-games
racing-car-games-online
free-dress-up-games
free-java-games-for-nokia
online-pokemon-adventure-games
play-dirt-bike-games
free-massive-online-adventure-game
play-free-fun-games
online-games-for-toddlers
bible-games-for-a-group

Hello

man.jaron